วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คลอดลูก 3 มิติ 3


อิ่มอุ่น - ศุ บุญเลี้ยง


วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม


รักใดๆ ไหนเล่าเท่ารักแม่
ด้วยแก่นแท้ชื่นจิตพิสมัย
รักอื่น ๆ หมื่นแสนจากแดนใด
หาเทียบได้รักของแม่เที่ยงแท้เอย

เซลล์

เซลล์(Cell)

http://www.youtube.com/user/sunpsmt#p/u/32/A8jencffhkA

ร่างกายของเรา

ร่างกายของมนุษย์ประกอยด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า เซลล์  มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกัน  เซลล์ที่ทำหน้าที่เหมือนกันมาอยู่รวมกัน  เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างเรียกว่า  เนื้อเยื่อ  หลาย ๆ เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน  เรียกว่า  อวัยวะ  และหลาย ๆ อวัยวะเมื่อมาทำงานประสานกัน  เรียกว่า   ระบบอวัยวะ


ระบบในร่างกายมนุษย์
ระดับเซลล์
          เซลล์ คือ องค์ประกอบพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เซลล์ 1 เซลล์ สามารถทำหน้าที่ได้เท่ากับสิ่งมีชีวิตหนึ่งชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างของเซลล์ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของเซลล์นั้นๆ เช่น อสุจิ 1 ตัว คือ 1 เซลล์ มีรูปร่างเหมาะที่จะว่ายไปผสมกับไข่ในมดลูก
                  ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่าง  และขนาดต่างกันไปตามหน้าที่การทำงาน

ระดับเนื้อเยื่อ
             เนื้อเยื่อ หมายถึง กลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างเหมือนกันมาอยู่รวมกัน  เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เนื้อเยื่อแบ่งได้เป็น  4  ชนิด  คือ  เนื้อเยื่อผิว  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน  เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ  และเนื้อเยื่อประสาท เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ทำงานได้ เนื้อเยื่อประสาททำหน้าที่ประสานงานในการรับความรู้สึก การสั่งงาน


ระดับอวัยวะ
    ระดับอวัยวะ คือ เกิดจากเนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน  ในร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ หลายอวัยวะ  ถ้าเราแข็งแรงและมีสุขภาพดี  ระบบอวัยวะทั้งหมดของร่างกายก็จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโครงสร้าที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดอยู่ร่วมกันและทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น หัวใจ ปอด ตับ สมอง หัวใจ ไต กล้ามเนื้อ เป็นต้น

ระดับร่างกาย
       อวัยวะหลาย ๆ ชนิดทำงานประสานกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เรียกว่า  ระบบร่างกาย
       ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะต่างๆมาทำงานประสานกันเป็นระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ มาทำงานประสานกัน ถ้าอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทำงานผิดปกติไปหรือทำงานไม่ได้ก็จะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตนั้น
      นอกจากการทำงานที่ประสานกันภายในระบบนั้นๆแล้วระบบนั้นๆแล้วระบบต่างๆของร่างกายไมว่าจะเป็นระบบย่อยอาหร ระบบหายใจ ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน หรือระบบสืบพันธุ์ แต่ละระบบจะต้องทำงานประสานกันเพื่อให้สิ่งมีชีิตนั้นๆดำรงอยู่ได้

     ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบร่างกายหลายระบบ  ซึ่งแต่ละระบบจะทำงานประสานสัมพันธ์กัน  เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติ  ถ้าระบบร่างกายใดทำงานผิดปกติหรือบกพร่อง  จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วย  เช่น  ระบบย่อยอาหาร  ระบบประสาท  ระบบโครงกระดูก

เกร็ดความรู้

หมู่เลือด

หมู่เลือดแบ่งเป็น 4 หมู่ คือ A B O และ AB แต่ละหมู่จะมีแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง และแอนติบอดีในพลาสมา ที่แตกต่างกันไป ในการถ่ายเลือด หมู่เลือดของผู้ให้จะต้องสอดคล้องกับหมูเลือดของผู้รับ

หมู่เลือดแอนติเจนแอนติบอดีหมู่เลือดที่รับได้
AAแอนติ AA และ O
BBแอนติ BB และ O
ABA และ Bไม่มีให้ได้ทุกหมู่
Oไม่มีแอนติ A แอนติ Bให้ได้เฉพาะ O

สารอาหาร

สารอาหาร  คือ  สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบอาหาร  แบ่งออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ  สารอาหารที่ให้พลังงาน  ได้แก่  ไขมัน  โปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  และสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน  ได้แก่  วิตามิน  เกลือแร่  น้ำ  และเส้นใยอาหาร

ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในฐานะที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมันสามารถให้พลังงานได้มากถึง 9 แคลอรี่ต่อกรัมซึ่งมากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน (ซึ่งให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม)"โปรตีน"

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิค คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•H2O)n ซึ่ง n≥3 หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือ
โมโนแซคคาร์ไรด์ คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักซึ่งให้พลังงานเท่ากับโปรตีน คือ 4 กิโลแคลลอรี่/1 กรัม ประกอบด้วย C คาร์บอน H ไฮโดรเจน และ O ออกซิเจน

โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง

วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในบริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด
วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ
  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A, D, E, K
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ B, C

เกลือแร่ (อังกฤษ: Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท[1] เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม

ที่มา : เว็ปไซต์ http://th.wikipedia.org/

สารอาหารแต่ละชนิดมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การรับประทานอาหารจึงมีความจำเป็นเพื่อให้พลังงานและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ดังนั้นในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

การทดสอบสารอาหาร
อุปกรณ์การทดลอง
 1.   อาหารที่ต้องการทดสอบ  3  ชนิด   2.   สารละลายไอโอดีน  3.   สารละลายเบเนดิกต์    
4.   สารละลายไบยูเร็ต    5.   น้ำกลั่น    6. หลอดทดลองโดยใช้  4  หลอด  ต่ออาหาร  1  ชนิด  
7.   ชั้นวางหลอดทดลอง          8.   กระดาษกรอง   9.   หลอดหยดสาร   10.      ตะเกียงแอลกอฮอร์
11.      แท่งแก้ว     12.      บีกเกอร์             13.          ตะแกรงและที่กั้นลม
วิธีทำทดลอง
1.   นำอาหารที่ต้องการทดสอบชนิดที่  1  แบ่งเป็น  2  ส่วน  โดยใส่อาหารส่วนที่  1  ลงในหลอดทดลองที่มีน้ำอุ่น  15  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ตั้งทิ้งไว้  15  นาที
 2.   แบ่งของเหลวจากข้อ  1  ใส่ในหลอดทดลอง  3  หลอด ๆ ละ  5  ลูกบาศก์เซนติเมตร  
 3.   นำแต่ละหลอดไปทดสอบเพื่อหาแป้ง  น้ำตาล  และโปรตีน  ตามลำดับดังนี้
         -    การทดสอบเพื่อหาแป้งจะใช้การหยดสารละลายไอโอดีน  เพื่อดูการเปลี่ยนสี 
        -    การทดสอบเพื่อหาน้ำตาลจะใช้การหยดสารละลายเบเนดิกต์และนำไปอุ่น  เพื่อดูการเปลี่ยนสี
        -    การทดสอบเพื่อหาโปรตีนจะใช้การหยดสารละลายไบยูเร็ต  เพื่อดูการเปลี่ยนสี
4.   นำอาหารส่วนที่  2  ไปถูกับกระดาษกรอง  เพื่อทดสอบหาไขมัน  แล้วบันทึกผล
5.   ทำการทดลองซ้ำข้อ  1 4  โดยเปลี่ยนเป็นอาหารชนิดที่  2  และ  3  ตามลำดับ