http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/16/3bef5af000a0fd6ea6988a4cbbeed847.pdf
วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร(Digestion) เป็นกลไกการแปรสภาพอาหารจากขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้เซลล์สามารถนำไปใช้ได้
การย่อยอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การย่อยอาหารภายในเซลล์ พบในพวกอะมีบา พารามีเซียม ฟองน้ำ จะต้องนำอาหารเข้าสู่เซลล์ก่อนจึงจะมีการย่อย
2. การย่อยภายนอกเซลล์ มีการย่อยอาหารตั้งแต่ภายนอกเซลล์ภายในช่องทางเดินอาหาร
การย่อยอาหารมี 2 วิธี คือ
1. การย่อยเชิงกล เป็นการย่อยอาหารโดยใช้แรง ฉีก กัด บดเคี้ยวในปาก การบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร การทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง ย่อยได้ง่ายขึ้น
2. การย่อยเชิงเคมี เป็นการย่อยอาหารโดยอาศัยน้ำย่อยหรือเอนไซม์ เป็นการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม
รักใดๆ ไหนเล่าเท่ารักแม่
ด้วยแก่นแท้ชื่นจิตพิสมัย
รักอื่น ๆ หมื่นแสนจากแดนใด
หาเทียบได้รักของแม่เที่ยงแท้เอย
ร่างกายของเรา
ร่างกายของมนุษย์ประกอยด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า เซลล์ มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกัน เซลล์ที่ทำหน้าที่เหมือนกันมาอยู่รวมกัน เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างเรียกว่า เนื้อเยื่อ หลาย ๆ เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เรียกว่า อวัยวะ และหลาย ๆ อวัยวะเมื่อมาทำงานประสานกัน เรียกว่า ระบบอวัยวะ
ระบบในร่างกายมนุษย์
ระดับเซลล์
เซลล์ คือ องค์ประกอบพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เซลล์ 1 เซลล์ สามารถทำหน้าที่ได้เท่ากับสิ่งมีชีวิตหนึ่งชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างของเซลล์ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของเซลล์นั้นๆ เช่น อสุจิ 1 ตัว คือ 1 เซลล์ มีรูปร่างเหมาะที่จะว่ายไปผสมกับไข่ในมดลูก
ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่าง และขนาดต่างกันไปตามหน้าที่การทำงาน
ระดับเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อ หมายถึง กลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างเหมือนกันมาอยู่รวมกัน เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อเยื่อแบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ เนื้อเยื่อผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อประสาท เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ทำงานได้ เนื้อเยื่อประสาททำหน้าที่ประสานงานในการรับความรู้สึก การสั่งงาน
ระดับอวัยวะ
ระดับอวัยวะ คือ เกิดจากเนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ในร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ หลายอวัยวะ ถ้าเราแข็งแรงและมีสุขภาพดี ระบบอวัยวะทั้งหมดของร่างกายก็จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโครงสร้าที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดอยู่ร่วมกันและทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น หัวใจ ปอด ตับ สมอง หัวใจ ไต กล้ามเนื้อ เป็นต้น
ระดับร่างกาย
อวัยวะหลาย ๆ ชนิดทำงานประสานกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เรียกว่า ระบบร่างกาย
ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะต่างๆมาทำงานประสานกันเป็นระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ มาทำงานประสานกัน ถ้าอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทำงานผิดปกติไปหรือทำงานไม่ได้ก็จะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตนั้น
นอกจากการทำงานที่ประสานกันภายในระบบนั้นๆแล้วระบบนั้นๆแล้วระบบต่างๆของร่างกายไมว่าจะเป็นระบบย่อยอาหร ระบบหายใจ ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน หรือระบบสืบพันธุ์ แต่ละระบบจะต้องทำงานประสานกันเพื่อให้สิ่งมีชีิตนั้นๆดำรงอยู่ได้
ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบร่างกายหลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบจะทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติ ถ้าระบบร่างกายใดทำงานผิดปกติหรือบกพร่อง จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบโครงกระดูก
เกร็ดความรู้
หมู่เลือด
หมู่เลือดแบ่งเป็น 4 หมู่ คือ A B O และ AB แต่ละหมู่จะมีแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง และแอนติบอดีในพลาสมา ที่แตกต่างกันไป ในการถ่ายเลือด หมู่เลือดของผู้ให้จะต้องสอดคล้องกับหมูเลือดของผู้รับหมู่เลือด | แอนติเจน | แอนติบอดี | หมู่เลือดที่รับได้ |
A | A | แอนติ A | A และ O |
B | B | แอนติ B | B และ O |
AB | A และ B | ไม่มี | ให้ได้ทุกหมู่ |
O | ไม่มี | แอนติ A แอนติ B | ให้ได้เฉพาะ O |
สารอาหาร
สารอาหาร คือ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบอาหาร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และเส้นใยอาหาร
ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในฐานะที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมันสามารถให้พลังงานได้มากถึง 9 แคลอรี่ต่อกรัมซึ่งมากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน (ซึ่งให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม)"โปรตีน"
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิค คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•H2O)n ซึ่ง n≥3 หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือ
โมโนแซคคาร์ไรด์ คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักซึ่งให้พลังงานเท่ากับโปรตีน คือ 4 กิโลแคลลอรี่/1 กรัม ประกอบด้วย C คาร์บอน H ไฮโดรเจน และ O ออกซิเจน
โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง
วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในบริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด
วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ
เกลือแร่ (อังกฤษ: Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท[1] เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม
ที่มา : เว็ปไซต์ http://th.wikipedia.org/
สารอาหารแต่ละชนิดมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การรับประทานอาหารจึงมีความจำเป็นเพื่อให้พลังงานและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ดังนั้นในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
การทดสอบสารอาหารอุปกรณ์การทดลอง
1. อาหารที่ต้องการทดสอบ 3 ชนิด 2. สารละลายไอโอดีน 3. สารละลายเบเนดิกต์
4. สารละลายไบยูเร็ต 5. น้ำกลั่น 6. หลอดทดลองโดยใช้ 4 หลอด ต่ออาหาร 1 ชนิด
7. ชั้นวางหลอดทดลอง 8. กระดาษกรอง 9. หลอดหยดสาร 10. ตะเกียงแอลกอฮอร์
11. แท่งแก้ว 12. บีกเกอร์ 13. ตะแกรงและที่กั้นลม
วิธีทำทดลอง
1. นำอาหารที่ต้องการทดสอบชนิดที่ 1 แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยใส่อาหารส่วนที่ 1 ลงในหลอดทดลองที่มีน้ำอุ่น 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตั้งทิ้งไว้ 15 นาที
2. แบ่งของเหลวจากข้อ 1 ใส่ในหลอดทดลอง 3 หลอด ๆ ละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. นำแต่ละหลอดไปทดสอบเพื่อหาแป้ง น้ำตาล และโปรตีน ตามลำดับดังนี้
- การทดสอบเพื่อหาแป้งจะใช้การหยดสารละลายไอโอดีน เพื่อดูการเปลี่ยนสี
- การทดสอบเพื่อหาโปรตีนจะใช้การหยดสารละลายไบยูเร็ต เพื่อดูการเปลี่ยนสี
4. นำอาหารส่วนที่ 2 ไปถูกับกระดาษกรอง เพื่อทดสอบหาไขมัน แล้วบันทึกผล
5. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1 – 4 โดยเปลี่ยนเป็นอาหารชนิดที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)